เมนู

ว่าด้วยสาวัชชกรรม อนวัชชกรรม


[628] คำว่า ละกรรมนั้นอันเป็นสาวัชชกรรมและอนวัชช-
กรรม
ความว่า กรรมคำมีผลดำ เรียกว่า สาวัชชกรรม กรรมขาวมี
ผลขาว เรียกว่า อนวัชชกรรม ละ เว้น บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึง
ความไม่มีซึ่งสาวัชชกรรมและอนวัชชกรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละ
กรรมนั้นอันเป็นสาวัชชกรรมและอนวัชชกรรม.
[629] คำว่า ไม่ปรารถนาความหมดจดและความไม่หมดจด
ความว่า พวกปุถุชนย่อมปรารถนาความไม่หมดจด คือปรารถนาอกุศล-
ธรรม ย่อมปรารถนาความหมดจด คือปรารถนาเบญจกามคุณ ย่อม
ปรารถนาความไม่หมดจด คือปรารถนาอกุศลธรรมและเบญจกามคุณ
ย่อมปรารถนาความหมดจด คือปรารถนาทิฏฐิ 62 ย่อมปรารถนาความ
ไม่หมดจด คือปรารถนาอกุศลธรรม เบญจกามคุณและทิฏฐิ 62 ย่อม
ปรารถนาความหมดจด คือปรารถนากุศลธรรมอันทีในไตรธาตุ ย่อม
ปรารถนาความไม่หมดจด คือปรารถนาอกุศลธรรม เบญจกามคุณ ทิฏฐิ
62 และกุศลธรรมอันมีในไตรธาตุ พวกกัลยาณปุถุชนย่อมปรารถนา
ความหมดจด คือปรารถนาความย่างเข้าสู่อริยมรรค พระเสขะย่อม
ปรารถนาอรหัตผลซึ่งเป็นธรรมอันเลิศ เมื่อบรรลุอรหัตผลแล้วพระ-
อรหันต์ย่อมไม่ปรารถนาอกุศลธรรม ไม่ปรารถนาเบญจกามคุณ ไม่
ปรารถนาทิฏฐิ 62 ไม่ปรารถนากุศลธรรมอันมีในไตรธาตุ ไม่ปรารถนา
ความย่างเข้าสู่อริยมรรค ไม่ปรารถนาอรหัตผลซึ่งเป็นธรรมอันเลิศ พระ-
อรหันต์ก้าวล่วงความปรารถนาแล้ว ล่วงเลยความเจริญและความเสื่อม
เสียแล้ว ท่านอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้ว ฯลฯ มิได้